Indie Indian Train : นี่หรือคือรถไฟอินเดีย!? แชร์วิธีรับมือกับความอินดี้ของรถไฟอินเดีย

นี่หรือคือรถไฟอินเดีย!? แชร์วิธีรับมือกับความอินดี้ของรถไฟอินเดีย

Indie Indian Train

- April, 2019 -

Hello my friend! .. เมื่อโชคชะตานำพาให้เราต้องเดินทางไปเที่ยวอินเดีย ประเทศที่ตัวเองเคยลั่นวาจาไว้ว่า “ขอเป็นประเทศสุดท้ายในชีวิตที่คิดจะไป!” แต่พอได้ออกเดินทางบ่อยขึ้น อคติต่อจุดหมายปลายทางก็น้อยลง ไอ้นิสัยเลือกที่รักมักที่ชังก็หายไป จากที่เคยปักหมุดไว้ว่าจะไปเฉพาะประเทศที่อยากไป ก็กลายเป็นว่าถ้ามีโอกาส ไม่ว่าสถานที่ไหนๆ เราก็ไปได้ .. ที่ตลกก็คือ พอมีโอกาสได้ไปอินเดีย เราก็ลองทำทุกอย่างที่ไม่คิดจะทำในประเทศที่ไม่เคยคิดจะไป! ใช่แล้ว .. หนึ่งในนั้นคือการนั่งรถไฟอินเดียนั่นเอง ฉะนั้นนี่จึงเป็นที่มาของรีวิวง่ายๆ ในโพสต์นี้ที่อยากมาแชร์วิธีรับมือกับความอินดี้ของรถไฟอินเดีย เผื่อใครอยากลองไปเที่ยวอินเดียแบบไม่พึ่งพาการเช่ารถพร้อมคนขับ บอกเลยว่าการนั่งรถไฟอินเดียเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่โคตรบันเทิง! 5555

รถไฟอินเดียมีหลายคลาส ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องขึ้นไปนั่งบนหลังคาเหมือนที่เคยเห็นในอินเทอร์เน็ต

พูดถึงรถไฟอินเดีย ใครนึกภาพความบันเทิงอัดแน่นจนคนต้องขึ้นไปนั่งกันบนหลังคาเหมือนกันบ้าง นี่สารภาพเลยว่าภาพนั้นผุดขึ้นมาในหัวก่อนภาพอื่นใด 555 แต่ความจริงแล้วรถไฟอินเดียก็เหมือนรถไฟไทย มีหลายคลาส หลายชั้นให้เลือก ถ้าอยากนั่งคลาสดีหน่อยก็ควรจองให้เร็ว เพราะเต็มค่อนข้างไว ชั้น 1 ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แม้จะมีราคาสูงเทียบเท่าการนั่งเครื่องบินภายในประเทศ แต่ก็มักจะเป็นคลาสที่เต็มเร็วเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีความเป็นส่วนตัวสูง แถมยังมีที่นั่งค่อนข้างน้อยในแต่ละขบวน

ส่วนตัวเราเลือกนั่ง AC 2 Tier (2A) หรือเทียบเท่ารถไฟชั้น 2 ของเมืองไทย จะไม่เป็นห้องเหมือนชั้น 1 แต่มีม่านปิด มีแอร์ แต่ไม่ค่อยสะอาด ฝุ่นเยอะ เราว่ารถไฟไทยขบวนใหม่ๆ สะอาดกว่าเยอะ พอขึ้นไปนั่งประจำที่ปุ๊บ พนักงานก็จะเดินแจกหมอน แจกผ้าปู สักพักก็จะคนมาเดินขายของกิน อ้อ กระเป๋าเดินทางใบเล็กสามารถใส่ใต้ที่นั่งได้ แต่ใบใหญ่ เราว่าน่าจะยัดไม่ไหว ส่วนห้องน้ำโอเค เข้าได้ แต่กลิ่นมาดามติดทนนานมากพี่จ๋า เดินไปฉี่ที กลับมานั่งนี่รู้สึกเหมือนได้กลิ่นฉี่ตลบอบอวลติดตัวอยู่ตลอดเวลา 555

ประตูทางเข้ากับทางออกไม่ใช่ทางเดียวกัน ฉะนั้นออกแล้วห้ามเข้า เข้าแล้วห้ามออก 5555

ลองนึกถึงสถานีรถไฟทั่วโลก จะมีทางเข้าและออกทางเดียวกันใช่ไหม อาทิเช่น BTS หรือ MRT บ้านเรา พอเข้าไปแล้ว รู้สึกอยากกินลูกชิ้นปิ้งก็เดินออกมาซื้อได้ที่ทางเดิมแล้วก็เดินกลับเข้าไปใหม่ แต่สถานีรถไฟอินเดียไม่ได้เป็นแบบนั้นจ้า บางสถานี เช่นสถานีรถไฟเดลี เขาจะเขียนเอาไว้ชัดเจนเลยตรงประตูทางออกว่า No Entry คือถ้าพี่บังเอิญเดินออกมาผิดสถานี จะกลับเข้าไปทางเดิมนี่ไม่ได้แล้วนาจา ต้องเดินไปหาทางเข้าอีกทาง ซึ่งบางสถานีก็อยู่ห่างกันเป็นโย้ดดด นี่ยังไม่นับพวกริกชอว์หรือตุ๊กตุ๊กที่พร้อมจะวิ่งเข้ามารุมทึ้งเหมือนผีดิบระหว่างเดินหาทางเข้าอีกนะ เหตุผลก็เพราะทุกๆ ทางเข้า เขาจะมีการตรวจกระเป๋าและสแกนร่างกาย เหมือนที่สนามบินเลย ฉะนั้นเวลาจะเดินเข้าสถานีก็ต้องวางกระเป๋าเข้าเครื่องตรวจทุกครั้ง พร้อมกับเดินผ่านเครื่องสแกนร่างกายทุกครั้งด้วยเช่นกัน

ผู้หญิงไปซ้าย ผู้ชายไปขวา

นอกจากจะมีการตรวจกระเป๋าและสแกนร่างกายทุกครั้งแล้ว ยังมีการแยกแถวสำหรับผู้หญิงและผู้ชายอีกด้วย ใครเคยไปอินเดียก็จะรู้ เพราะทุกๆ ที่ที่มีการต่อแถว เช่น ซื้อตั๋ว หรือเข้าสถานที่ ก็จะมีการแยกแถวชาย หญิง แบบนี้แหละ สถานีรถไฟก็เช่นกัน พอวางกระเป๋าเข้าเครื่องสแกนเสร็จแล้วก็เดินไปผ่านด่านตรวจร่างกายของแต่ละเพศได้เลย ฉะนั้นถ้าใครไปฮันนีมูนก็ต้องห่างสักพักตอนเดินเข้าสถานีรถไฟล่ะนะ (ซึ่งเราขอให้คิดทบทวนหากจะไปฮันนีมูนกันที่อินเดีย 555)

ทำความรู้จักกับกลุ่มชายชุดแดง

สำหรับขาออก เมื่อเดินทางมาถึงสถานีรถไฟแล้ว จะด้วยวิธีใดก็ตาม ด่านแรกที่ต้องรับมือคือ กลุ่มชายชุดแดง 555 ซึ่งจะเดินปรี่เข้ามาชาร์จตัวคุณ โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว! เพื่อมอบน้ำใจอันเล็กน้อยที่อาจทำให้เธอน้ำตาปริ่มว่าคนอินเดียช่างมีน้ำใจขนาดนี้เลยหรือนี่ ด้วยการอาสาพาไปหลง เฮ้ย อาสาแบกกระเป๋าเดินทางให้ พร้อมบอกเหตุผลว่า “อีนี่สถานีรถไฟมันไกลนาจา ให้ฉานช่วยถือกระเป๋าให้ดีกว่านายจ๋า” ซึ่งก็จริงค่ะ สถานีรถไฟอินเดียจะมีหลายชานชาลา โดยแต่ละชานชาลาอาจจะต้องเดินขึ้นบันไดและบางสถานีก็ไม่มีบันไดเลื่อน! ฉะนั้นเราจะต้องแบกกระเป๋าเดินทางขึ้นบันไดดุ๊กๆๆ ข้ามชานชาลาเอง และฮีโร่ของการกอบกู้กระเป๋าเดินทางของคุณก็คือเหล่าชายชุดแดงหรือกลุ่มอาชีพที่คนอินเดียเรียกกันว่า ‘กุลี (Coolie)’ นี่แหละ ฉะนั้นถ้าไม่อยากลากกระเป๋าเองก็จ้างกุลีได้เลย ราคาแล้วแต่ต่อรอง เริ่มต้นตั้งแต่ 150 รูปีขึ้นไป ถ้าเป็นชาวต่างชาติก็อาจจะโดนโกงตามธรรมเนียมนิดหน่อย เพิ่มไม่เยอะ ประมาณ 5-600 รูปีเท่านั้นเอง ส่วนตัวฉานนั้น ขอแบกเองจ่ะ ขี้เกียจโดนแขกโกง 5555

สำหรับขาเข้า เมื่อเดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางและลงจากสถานีรถไฟแล้ว ด่านแรกที่ต้องรับมือก็คือ กลุ่มชายชุดแดงอีกนั้นแหละ 5555 ซึ่งบางทีเขาจะขึ้นมาชาร์จตัวคุณถึงบนรถไฟกันเลยทีเดียว แต่เราเห็นคนอินเดียหลายคนเขามีกุลีประจำตัวนะ เหมือนโทรศัพท์นัดแนะกันตั้งแต่ก่อนจะถึงสถานี พอรถไฟจอดปุ๊บ กุลีก็จะขึ้นมากุลีกุจอรีบยกกระเป๋าให้ทันที ถ้าเราไม่เอาก็เซย์โนว์ไป แล้วก็เดินลากกระเป๋าสวยๆ ข้ามชานชาลาเอง ฉันมันคนแกร่งย่ะ! #สะบัดบ็อบ

วิธีการขึ้นรถไฟอินเดียด้วยตัวเองแบบง๊ายง่าย

การขึ้นรถไฟอินเดียนั้นไม่ยาก ถ้าคุณเป็นคนอินดี้ ขึ้นได้แน่นอน ไม่มีหลงขบวน อันดับแรกเลยคือเมื่อมาถึงสถานีรถไฟพร้อมกับฝ่ากลุ่มชายชุดแดงเข้ามาถึงหน้าสถานีได้แล้ว ให้มองหาป้ายแจ้งรายละเอียดของรถไฟแต่ละขบวน ซึ่งจะมีติดเอาไว้ด้านหน้าของทุกสถานี เพื่อบอกรายละเอียดว่า รถไฟขบวนนี้ เวลาเท่านี้ จะมาจอดที่แพลตฟอร์มหรือชานชาลาไหน ก็มองหาเลขที่และชื่อขบวนรถไฟของเรา แล้วดูว่าต้องไปขึ้นที่ชานชาลาไหน (PF No.)

จากนั้นก็เดินไปผ่านด่านตรวจกระเป๋าและร่างกาย ตรงนี้จะไม่มีการตรวจตั๋วเหมือนสถานีรถไฟอื่นๆ อินดี้ป่ะล่ะ 555 ถ้าเข้าไปแล้วยังไม่ถึงเวลา จะมีที่นั่งรอของคลาสสูงๆ อยู่ เป็นห้องแอร์ แต่ถ้าใกล้เวลาแล้วก็เดินไปรอที่ชานชาลาได้เลย แนะนำให้เผื่อเวลาไว้สักนิด เพราะที่ชานชาลาจะไม่มีป้ายบอกว่าโบกี้ที่เรานั่งจะมาจอดตรงไหน ถึงแม้ว่าจะมีป้าย Train No. ติดตั้งไว้ก็ตาม ไม่เป็นไร คนอินดี้อย่างเราเข้าใจ ฉะนั้นแนะนำให้ยืนเอาไว้ตรงกลางๆ ชานชาลา เดี๋ยวพอรถไฟวิ่งมาเทียบท่า ก็ค่อยดูหมายเลขโบกี้แล้วค่อยวิ่งไปขึ้นที่โบกี้ของเรา หรือว่าจะเข้าไปเช็คตำแหน่งของโบกี้ของรถไฟก่อนก็ได้ที่ > Click < ซึ่งเราลองเช็คแล้วก็ยังไม่รู้อยู่ดี เพราะตรงชานชาลามันไม่มีป้ายบอกจริงๆ ว่าโบกี้ที่ฉานจะขึ้นนั้นมันอยู่ตรงจุดไหน!?

ปล. ณ จุดนี้ ใครแนะนำเพิ่มเติมได้ แนะนำเลยนะ ส่วนตัวแล้วเราใช้วิธีคาดเดาแบบอินดี้ๆ ของเรานี่แหละ ยิ่งถ้าเป็นคนที่เที่ยวญี่ปุ่นมาบ่อยๆ จะต้องใช้สกิลการปรับตัวค่อนข้างสูงทีเดียวกับการขึ้นรถไฟในอินเดีย 5555

รถไฟอินเดียไม่ประกาศแจ้งเมื่อถึงสถานีนาจา โตแล้วต้องรู้ด้วยตัวเอง!

พยายามอย่าปล่อยตัวปล่อยใจ นั่งทำมิวสิควิดีโอเมื่อนั่งรถไฟอินเดีย เพราะเขาจะไม่ประกาศอะไรใดๆ เลย เมื่อรถไฟจะเข้าจอดที่สถานี เธอจะไม่ได้ยินเสียงหวานๆ ว่า “Next Station …” เหมือนประเทศอื่นๆ ฉะนั้นเราจะต้องรู้ด้วยตัวเองเมื่อถึงสถานีแล้ว ถ้าเป็นสถานีสุดท้ายปลายทาง หรือสถานีใหญ่ๆ ก็ง่าย เพราะสังเกตจากคนที่ลงได้ แต่ถ้าเป็นสถานีเล็กๆ ระหว่างทาง ก็ต้องอาศัยคำนวณเวลาและเปิด Google Map ดูเป็นระยะ โตแล้ว ถึงจุดหมายต้องรู้ด้วยตัวเองนะ!

ถ้าคิดว่าการนั่งไฟอินเดียบันเทิงแล้ว การดูวิวข้างทางบันเทิงกว่า

สิ่งที่เราชอบมากที่สุดของการนั่งรถไฟอินเดียคือได้นั่งดูวิวระหว่างทาง คือมันเหมือนได้นั่งรถไฟสายชีวิต 555 เพราะวิถีชีวิตของชาวอินเดียจะมีให้เราดูตามรางรถไฟนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น กินข้าว อาบน้ำ สระผม เข้าส้วม อุจาระ ปัสสาวะ วิ่งเล่น นั่งเหม่อ หรือแม้กระทั่งตั้งวงเล่นไพ่! 5555 พูดเลยว่านี่แหละ เสน่ห์ของการนั่งรถไฟอินเดีย!

ปล. ส่วนวิธีการจองตั๋วรถไฟอินเดียด้วยตัวเอง รอติดตามในรีวิวอินเดียฉบับเต็มได้เร็วๆ นี้นะ เราว่าจะทำเป็นคัมภีร์เที่ยวอินเดียด้วยตัวเองด้วย ส่วนตัวเราจองเอง เจ็บเอง ทุกขั้นตอน ไม่ได้พึ่งเอเจนซี่ เดี๋ยวไว้จะเอาวิธีการจองแบบละเอียดมาบอกกันอีกทีนาจา รอติดตามกันได้นะ : )

Niichiiz *
Niichiiz *https://movearound-journey.com
IG : https://www.instagram.com/niichiiz13

Related Stories

Discover

รวม 10 พิกัด ที่เที่ยวเซี่ยงไฮ้ ถ่ายรูปสวยชิค

หลังจากจีนฟรีวีซ่าก็ทำเอาเราหยุดเที่ยวจีนไม่ได้เลย หลงเสน่ห์ประเทศนี้เข้าเต็มเปา! ใครที่กำลังลังเลใจ กล้าๆ กลัวๆ ว่าจะไปเที่ยวจีนด้วยตัวเองครั้งแรกดีมั้ย? แนะนำลองจองตั๋วบินไปเที่ยว “เซี่ยงไฮ้” ก่อนเป็นที่แรกเลยค่ะ เพราะเที่ยวง่าย การเดินทางสะดวกสบาย มีรถไฟใต้ดินไปถึงทุกที่ บ้านเมืองสะอาดสะอ้าน ไฮเทค...

วิธีขึ้นรถไฟความเร็วสูงประเทศจีน สำหรับเดินทางข้ามเมือง

หลังจากจีนฟรีวีซ่าให้คนไทยได้เข้าไปเที่ยวประเทศจีนอย่างสะดวกโยธินมากยิ่งขึ้นแล้ว เชื่อว่ามีสายเที่ยวหลายคนที่กำลังเมียงมองประเทศจีนไว้เป็นหนึ่งใน Destination List อาจจะตั้งคำถามว่า เที่ยวจีนด้วยตัวเองยากมั้ย? เราอยากจะย้ำความมั่นใจให้ว่า "เที่ยวจีนด้วยตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด" เลยค่ะ โพสนี้เราก็เลยอยากมาแชร์ วิธีขึ้นรถไฟความเร็วสูงประเทศจีน ไว้ให้เป็นข้อมูล สำหรับคนที่มีแพลนอยากไปเที่ยวจีนด้วยตัวเอง อยากจะบอกว่าการเดินทางไปเมืองใกล้เคียงด้วยรถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นวิธีที่คนจีนใช้กันเป็นเรื่องปกติมากๆ...

รีวิว ซัวเถา (Shantou) กิน เที่ยว มู รับเฮงปีมังกร 3 วัน...

ยินดีกับนักท่องเที่ยวไทยทุกคนที่กำลังจะมีประเทศฟรีวีซ่าให้เที่ยวเพิ่มอีกหนึ่งประเทศแล้ววว นั่นก็คือ “ประเทศจีน” นั่นเอง โพสนี้ก็เลยจะขอพาไปเปิดม่านเมือง "ซัวเถา" บ้านเกิดของคนไทยเชื้อสายจีนในอดีตที่โล้สำเภาเดินทางแบบเสื่อผืนหมอนใบมาตั้งรกรากในประเทศไทย จะขอพาไป กิน เที่ยว มู ในเมืองซัวเถา และแต้จิ๋ว หนึ่งในที่เที่ยวเมืองจีนที่เหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเที่ยวเมืองจีนด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกแบบเราที่สุด...

รีวิว Sea Season Pool Villas ที่พักสวยติดทะเลพัทยา

วันหยุดว่างๆ ทีไร เราล่ะชอบพาตัวเองไปพักผ่อนชิลๆ ที่พัทยามากจริงๆ อาจเพราะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปไม่ไกล ก็ได้นั่งมองทะเลสวยๆ แล้ว โพสนี้ก็เลยอยากมารีวิวที่พักติดทะเลพัทยาที่เพิ่งไปมาแล้วชอบมากอย่าง Sea Season Pool Villas Pattaya...

รีวิว เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) อัพเดทมุมถ่ายรูปชิค

นี่คือการมาเที่ยว “เซี่ยงไฮ้” ประเทศจีน เป็นครั้งแรกในชีวิตของเรา อยากจะบอกว่าเปิดมุมมองมากกก เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองไวบ์ดีกว่าที่คิด ไลฟ์สไตล์ของที่นี่ก็ชิลสุดอะไรสุด บ้านเมืองสะอาดสะอ้าน มีมุมถ่ายรูปสวยๆ เยอะ ที่สำคัญคือเป็นประเทศจีนที่เที่ยวง่ายมากค่ะ มีรถไฟใต้ดินหลายสาย การเดินทางไม่ซับซ้อน คนจีนที่นี่ส่วนใหญ่สื่อสารภาษาอังกฤษง่ายๆ...

แผนเที่ยวฟุกุอิ (Fukui) ดื่มด่ำธรรมชาติ ย่ำรอยประวัติศาสตร์ ในเมืองสุดอันซีนของญี่ปุ่น

แผนเที่ยวฟุกุอิ เล่มนี้ จะพาคุณนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปสูดกลิ่นอายอดีต ย่ำรอยประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหาของแดนปลาดิบ พร้อมดื่มด่ำกับธรรมชาติให้ฉ่ำปอด ในจังหวัดสุดอันซีนที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทรงเสน่ห์อย่าง ‘ฟุกุอิ’ ฟุกุอิ เป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์หลายหลากซุกซ่อนไว้อย่างคาดไม่ถึง ที่นี่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการวิจัยฟอสซิลไดโนเสาร์ ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง ‘Fukui Prefectural Dinosaur Museum’...

Popular Categories

Comments